จิตวิทยาคืออะไร?

           จิตวิทยา คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ (กระบวนการของจิต) , กระบวนความคิด, และพฤติกรรม ของมนุษย์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เนื้อหาที่นักจิตวิทยาศึกษาเช่น การรับรู้ (กระบวนการรับข้อมูลของมนุษย์) , อารมณ์, บุคลิกภาพ, พฤติกรรม, และรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล จิตวิทยายังมีความหมายรวมไปถึงการประยุกต์ใช้ความรู้กับกิจกรรมในด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน (เช่นกิจกรรมที่เกิดขึ้นในครอบครัว, ระบบการศึกษา, การจ้างงานเป็นต้น) และยังรวมถึงการใช้ความรู้ทางจิตวิทยาสำหรับการรักษาปัญหาสุขภาพจิต นักจิตวิทยามีความพยายามที่จะศึกษาทำความเข้าใจถึงหน้าที่หรือจุดประสงค์ต่าง ๆ ของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากตัวบุคคลและพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสังคม ขณะเดียวกันก็ทำการศึกษาขั้นตอนของระบบประสาทซึ่งมีผลต่อการควบคุมและแสดงออกของพฤติกรรม
อ่านเพิ่มเติม

แนะนำโรงพยาบาลจิตเวช

* จิตแพทย์ทั่วไป ตรวจรักษาผู้ที่มีอายุตั้งแต่18ปี

* โรงพยาบาลรัฐบาล : ในเวลาราชการ จะไม่มีค่าตรวจของแพทย์ ไม่ว่าสิทธิ์การรักษาใด แต่จะมีค่าบริการประมาณ 50-100บาท , คลินิกนอกเวลา มีค่าตรวจเหมือนโรงพยาบาลเอกชน แตกต่างกันไปแล้วแต่ที่

ในส่วนของยา ถ้าสิทธิ์ไม่ครอบคลุม ผู้ป่วยจะต้องจ่ายเอง แต่ถ้าครอบคลุม ก็ไม่เสียค่าใช้จ่ายค่ะ

* ทั้งนี้ทั้งนั้น สิทธิ์การรักษามีหลายอย่าง , ยามีหลายชนิด ,  โรงพยาบาลรัฐบาลแห่งหนึ่ง อาจมีเขตความรับผิดชอบหลายจังหวัด และรายละเอียดการให้บริการของแต่ละโรงพยาบาลมีความแตกต่างกัน ขอแนะนำให้โทรถามเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลที่จะไป จะดีที่สุดค่ะ จะได้ไม่เดินทางไกลแล้วเสียเที่ยวด้วยค่ะ

* โรงพยาบาลเอกชน ควรเลือกโรงพยาบาลที่คุณจะสามารถไปพบแพทย์ได้สะดวก เพราะกระบวนการรักษาต้องอาศัยความต่อเนื่องค่ะ

* ควรโทรติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่ล่วงหน้า เรื่องตารางการออกตรวจของจิตแพทย์ 

           ภาคเหนือ 

– โรงพยาบาลจอมทอง (จ.เชียงใหม่)

– โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

– โรงพยาบาลเชียงใหม่-ราม

– โรงพยาบาลนครพิงค์ (จ.เชียงใหม่)

– โรงพยาบาลน่าน

– โรงพยาบาลแพร่

– โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ (โรงพยาบาลสวนดอก)

– โรงพยาบาลลำปาง

– โรงพยาบาลลำพูน

– โรงพยาบาลธัญญารักษ์ เชียงใหม่

– โรงพยาบาลธัญญารักษ์ แม่ฮ่องสอน

– โรงพยาบาลสวนปรุง (จ.เชียงใหม่)

– โรงพยาบาลสุโขทัย

– โรงพยาบาลอุตรดิตถ์

– สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ (จ.เชียงใหม่)

[ หมายเหตุ : จ.พะเยา ไม่มีจิตแพทย์ประจำ

มีจิตแพทย์จาก จ.แพร่ ไปออกตรวจเดือนละ1ครั้ง ต้องสอบถามทางโรงพยาบาลว่าเป็นวันที่เท่าไหร่ในแต่ละเดือน ]

=============================================

         ภาคตะวันตก 

– โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา (จ.กาญจนบุรี)

– โรงพยาบาลแม่สอด (จ.ตาก)

– โรงพยาบาลราชบุรี

– โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (จ.ตาก)

– โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี

– โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัด สุพรรณบุรี

– โรงพยาบาล หัวหิน จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์

– โรงพยาบาล บ้านโป่ง จังหวัด ราชบุรี 

– โรงพยาบาลนภาลัย (เดิมชื่อรพ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม)

=============================================

          ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

– คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

– โรงพยาบาลครบุรี (จ.นครราชสีมา)

– โรงพยาบาลค่ายสุรนารี (จ.นครราชสีมา)

– โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น

– โรงพยาบาลจิตเวชนครพนมราชนครินทร์

– โรงพยาบาลจิตเวชเลยราชนครินทร์

– โรงพยาบาลชัยภูมิ

– โรงพยาบาลเทพรัตน์ (จ.นครราชสีมา)

– โรงพยาบาลบุรีรัมย์

– โรงพยาบาลปากช่อง (จ.นครราชสีมา)

– โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ (จ.อุบลราชธานี)

– โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

– โรงพยาบาลมหาสารคาม

– โรงพยาบาลยโสธร

– โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

– โรงพยาบาลศรีสะเกษ

– โรงพยาบาลสกลนคร

– โรงพยาบาลสุรินทร์

=============================================

          ภาคกลาง

– โรงพยาบาลกำแพงเพชร

– โรงพยาบาลจิตเวชนครสวรรค์ราชนครินทร์

– โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช (จ.สุพรรณบุรี)

– โรงพยาบาลนครนายก

– โรงพยาบาลนครสวรรค์

– โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช

– โรงพยาบาลพระพุทธบาท (จ.สระบุรี)

– โรงพยาบาลพิจิตร

– โรงพยาบาลพุทธชินราช (จ.พิษณุโลก)

– โรงพยาบาลสระบุรี

– โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ (จ.นครสวรรค์)

– โรงพยาบาลสิงห์บุรี

– โรงพยาบาลอานันทมหิดล (จ.ลพบุรี)

– โรงพยาบาลอ่างทอง

– ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จ.นครนายก)

=============================================

          ภาคตะวันออก

– คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

– โรงพยาบาลกรุงเทพ ระยอง

– โรงพยาบาลจิตเวชสระแก้วราชนครินทร์

– โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (จ.ปราจีนบุรี)

– โรงพยาบาลชลบุรี

– โรงพยาบาลพระปกเกล้า (จ.จันทบุรี)

– โรงพยาบาลเมืองฉะเชิงเทรา

– โรงพยาบาลระยอง

– โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา (จ.ชลบุรี)

– โรงพยาบาลอาภากรเกียรติวงศ์ (จ.ชลบุรี)

===========================================

          ภาคใต้

– คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

– โรงพยาบาลกรุงเทพ สมุย

– โรงพยาบาลกรุงเทพ หาดใหญ่

– โรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์

– โรงพยาบาลตะกั่วป่า (จ.พังงา)

– โรงพยาบาลท่าศาลา (จ.นครศรีธรรมราช)

– โรงพยาบาลทุ่งสง (จ.นครศรีธรรมราช)

– โรงพยาบาลธัญญารักษ์ สงขลา (เกาะยอ)

– โรงพยาบาลธัญญารักษ์ ปัตตานี

– โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์

– โรงพยาบาลปัตตานี

– โรงพยาบาลพัทลุง

– โรงพยาบาลมหาราช นครศรีธรรมราช

– โรงพยาบาลยะลา

– โรงพยาบาลราษฏร์ยินดี (จ.สงขลา)

– โรงพยาบาลวชิระ ภูเก็ต

– โรงพยาบาลศูนย์ตรัง

– โรงพยาบาลสงขลา

– โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ (จ.สุราษฎร์ธานี)

– โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี

ดูแลสุขภาพจิตเพื่อจิตที่ดี

8 วิธีดูแลสุขภาพจิต เพื่อจิตใจที่ดีและสุขภาพแข็งแรง

       เราสามารถต่อสู้กับความเจ็บป่วยทางจิตใจด้วยตัวของเราได้ อย่างไร วิธีต่อไปนี้ช่วยได้

1.รู้จักกการสื่อสาร การแสดงความรู้สึกในทางที่ไม่ก้าวร้าว ไม่ต่อต้านเป็นหนทางที่ใช้กับคนสำคัญในชีวิตคุณ รวมถึงคอบครัวเพื่อนและเพื่อนร่วมงาน อย่ารอให้เกิดความกดดันและความโกธรสุดขีด จัดการกับความโกธรหรืออารมณ์ไม่ดีเสียก่อนที่จะเป็นเหตุให้คุณเครียด

2.ให้เวลากับตัวเอง อยู่คนเดียวทุกวันเพียงแค่ 10 นาทีในห้องน้ำหรือเดินสัก 20 นาที หรือออกกำลังกายในโรงยิม ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ เช่น การทำสมาธิ การฟังเสียงเพลงเบาๆ หรือเพียงแค่มีความสุขกัลบธรรมชาติรอบตัว

3.อย่าพยายามรักษาผลประโยชน์จากคนอื่นให้ได้มากที่สุดการมองหาสิ่งที่สำคัญต่อสุขภาพจิตมีความสำคัญมากกว่าสิ่งภายนอก เช่น การแบ่งเวลาให้แก่คนที่รัก มีความสุขกับการดูพระอาทิตย์ตกหรือนอนอาบแดด หางานที่คุณรักและทำด้วยหัวใจที่มีความสุข

4.สร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนที่คุณไว้วางใจ คนที่คุณแบ่งปันความคิดเห็น ความสุขและความเศร้า  จำไว้ว่ารู้จักให้พอๆ กับรู้จักรับ

5.หลีกเลี่ยงความสัมพันธ์ที่ไม่ดีต้อสุขภาพจิตที่ทำให้คุณรู้สึกเศร้า หรือท้อแท้ ไม่ว่าผลออกมาจะเป็นอย่างไร ให้ออกมาจากสถานการณ์นี้

6.ทำกิจกรรมทางร่างกายทุกๆ วันไม่ว่าจะเป็นการทำสวน การล้างรถ เดินหรือออกกำลังกาย ประโยชน์ว่าการออกกำลังนั้นช่วยปล่อยสารเอ้นเดอร์ฟินในร่างกายเพื่อทำให้รู้สึกดี

7.แบ่งปันชีวิตร่วมกับคนที่คุณรัก

8.จริงใจกับตัวเอง

แหล่งที่มา: http://xn--22c0df2b3b7a.xn--q3cped3cb5f8b6d.com

History psychology

บิดาแห่งศาสตร์ที่ว่าด้วยจิตวิทยาของโลกซิกมันด์-ฟรอยด์

      ไม่ว่าเราจะเชื่อความคิดของฟรอยด์ทั้งหมดหรือเชื่อบางส่วนหรือว่าไม่เชื่อเอาเลยก็ตามที  แต่เราก็ปฏเสธไม่ได้ว่า  ทฤษฏืจิตวิเคราะห์ที่ฟรอยด์นำเสนอต่อชาวโลกนั้นก็เป็นปฏิวัติครั้งสำคัญในความรู่เกี่ยวกับจิตใจของมนุษย์  ซ่งได้ส่งผลสะเทือนอย่างมหาศาลต่อวิชาการด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ในปัจจุบัน

ซิกมุนด์  ฟรอยด์ (Sigmund  Freudนักจิตวิทยาชาวออสเตรีย  เชื่อสายยิว  เกิดเมื่อวันที่ 6 เดือนพฤษพาคม  1856  ชื่อเดิมของเขาคือ ซิกิสมุนด์  ชโลโม  ฟรอยด์  ก่อนที่จะตัดให้สั้นลงเหลือแค่ซิกมุนด์  ฟรอยด์  ในปี  1877 ครอบครัวของฟรอยด์มีอาชีพขายขนสัตว์  มีฐานะปานกลางเมื่ออายุ 4 ขวบ จึงย้ายจากเมืองไฟเบร์กไปอยู่ที่กรุงเวียนนา  กาลต่อมาได้แต่งงานกับมาร์ธา  เบอร์เน  มีลูกด้วยกันถึง 6 คน  จนถึงปี 1938 กองทัพนาซีของเยอรมันบุกเข้ายึดครองออสเตรีย  ทำให้เขาต้องหลบหนีปอยู่อังกฤษ  และ 1 ปีหลังจากนั้นเขาก็ถึงแก่กรรมในวันที่ 23 กันยายน 1939  ด้วยอายุ 83  ปี

หลังจากกลับมาอยู่ที่กรุงเวียนนา  ฟรอยด์จึงตัดสินใจเดินบนถนนของจิตแพทย์  และใช้วิธีการรักษาแบบจิตวิเคราะห์  กับคนไข้ที่เป็นอัมพาต  กล่าวคือให้ผู้ป่วยเล่าถึงความคับข้องใจหรือความหวาดกลัวและพยายามให้ผู้ป่วยเข้าใจเหตุการณ์นั้นๆ  เพื่อลดความขัดแย้งในใจ  ปรากฏส่ามีผู้ป่วยหลายคนหายจากอัมพาต

ฟรอยด์คือเป็นทั้งแพทย์และนักจิตวิทยาที่บุกเบิกการศึกษาทางด้านจิตวิทยา  ทฤษฏีต่างๆที่เขาค้นพบยังคงใช้มารักษาโลกทางจิตอยู่จนถึงปัจจุบัน  หนึ่งในความคิดที่โด่งดังของเขาก็คือ  ความเชื่อที่ว่าพลังจิตใต้สำนึกมีผลต่อพฤติกรรมของแต่ละบุคคลและจำแนกบุคคลให้มีลักษณะแตกต่างกัน

เขาอธิบายว่าจิตใต้สำนึกของคนเราแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ อิด (Id) อีโก้ (Ego) และ ซุปเปอร์อีโก้ (Superego) โดย อิดจะเป็นพลังอารมณ์ความรู้สึกที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด เช่น รัก โลภ โกรธ หลง หรือเรียกว่าเป็นสัญชาตญาณดิบของคนเรานั่นเอง ซึ่งหากคนเรามีอิด เพียงอย่างเดียวก็จะไม่ต่างอะไรกับสัตว์ที่ไม่สามารถยับยั้งชั่งใจตัวเองได้ ในขณะที่ ซุปเปอร์อีโก้จะเป็นพลังงานที่เกิดจากการเรียนรู้ค่านิยมต่างๆ เช่น ความดี ความชั่ว มโนธรรม เป็นต้น ซึ่งเป็นพลังในส่วนดีของจิตมนุษย์ที่จะคอยหักล้างกับพลังอิด  อีโก  หมายถึง  จิตที่รู้สำนึก ที่ก่อตัวและพัฒนาขึ้นมาเมื่อเด็กเจริญเติบโต  เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้  และความรู้สึกนึกคิด

ทั้งนี้ในระหว่างความสุดขั้วของอิด และซุปเปอร์อีโก้นั้นจะมี อีโก้อยู่ระหว่างกลางคอยทำหน้าที่ควบคุมไม่ให้คนเราแสดงสัญชาตญาณดิบออกมามากเกินไป แต่ก็ไม่ถึงขั้นทำให้คนเราแสดงออกซึ่งมโนธรรมเพียงอย่างเดียวเช่นกัน

แหล่งที่มา:http://www.oknation.net/blog/chinjung14/2008/03/10/entry-3